วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

โรคคอตีบ (Diphtheria)

 โรคคอตีบ ( Diphtheria )

โรคคอตีบ หรือ ดิพทีเรีย เป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบ มีแผ่นเยื่อเกิดขึ้นในลำคอ ในรายที่รุนแรงจะมีการตีบตันของทางเดินหายใจ จึงได้ชื่อว่าโรคคอตีบ ซึ่งอาจทำให้ถึงตายได้ และจากพิษ (exotoxin) ของเชื้อจะทำให้มีอันตรายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ และเส้นประสาทส่วนปลาย

สาเหตุ
            โรคคอตีบเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Corynebacterium diphtheriae (C. diphtheriae) ซึ่งมี   รูปทรงแท่งและย้อมติดสีแกรมบวก มีสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดพิษ (toxogenic) และไม่ทำให้เกิดพิษ (nontoxogenic) พิษที่ถูกขับออกมาจะชอบไปที่กล้ามเนื้อหัวใจและปลายประสาท ทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งถ้าเป็นรุนแรงจะทำให้ถึงตาย




อาการของโรคคอตีบมีดังต่อไปนี้

  • น้ำมูกไหล
  • เจ็บคอ
  • ครั่นเนื้อครั่นตัว
  • มีไข้
  • ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต
  • มีเยื่อที่คอ
  • หายใจลำบาก
  • กลืนลำบาก



การป้องกัน
            1) ผู้ที่มีอาการของโรคจะมีเชื้ออยู่ในจมูก ลำคอ เป็นระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ ดังนั้น จึงต้องแยกผู้ป่วยจากผู้อื่นอย่างน้อย 3 สัปดาห์ หลังเริ่มมีอาการ หรือตรวจเพาะเชื้อไม่พบเชื้อแล้ว 2 ครั้ง ผู้ป่วยที่หายจากโรคคอตีบแล้ว อาจไม่มีภูมิคุ้มกันโรคเกิดขึ้นเต็มที่ จึงอาจเป็นโรคคอตีบซ้ำอีกได้ ดังนั้นจึงต้องให้วัคซีนป้องกันโรค (DTP หรือ dT) แก่ผู้ป่วยที่หายแล้วทุกคน

             2) ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย เนื่องจากโรคคอตีบติดต่อกันได้ง่าย ดังนั้นผู้สัมผัสโรคที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคจะติดเชื้อได้ง่าย จึงควรได้รับการติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด โดยทำการเพาะเชื้อจากลำคอ และติดตามดูอาการ 7 วัน ในผู้ที่สัมผัสโรคอย่างใกล้ชิดที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคมาก่อน หรือได้ไม่ครบ ควรให้ยาปฏิชีวนะ benzathine penicillin 1.2 ล้านหน่วย ฉีดเข้ากล้าม หรือให้กินยา erythromycin 50 มก./กก/วัน เป็นเวลา 7 วัน พร้อมทั้งเริ่มให้วัคซีน เมื่อติดตามดูพบว่ามีอาการ และ/หรือตรวจพบเชื้อ ให้ยาปฏิชีวนะดังกล่าว พร้อมกับให้ diphtheria antitoxin เช่นเดียวกับผู้ป่วย
           

             3) ในเด็กทั่วไป การป้องกันนับว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยการให้วัคซีนป้องกันคอตีบ 5 ครั้ง เมื่ออายุ 2, 4, 6 และ 18 เดือน และกระตุ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่ออายุ 4 ปี 



วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วันรับบริการฉีดวัคซีนเด็ก

รพ.สต.บ้านโพธิฐาน

ได้มีการให้บริการฉีดวัคซีนเด็ก 0-4ปี ทุกวันที่ 10 ของทุกเดือน (หากวันที่10 ตรงกับเสาร์ อาทิตย์ จะเลื่อนมาเป็นวันจันทร์)

กิจกรรมก่อนการรับบริการฉีดวัคซีน

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

โรค มือ เท้า ปาก

 โรค มือ เท้า ปาก

เป็นโรคติดเชื้อเกิดจากเชื้อไวรัสอยู่ในลำไส้ หรือเรียกว่าเอนเทอโรไวรัส(Enterovirus) มักเกิดขึ้นกับเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี พบได้ตลอดปี แต่พบมากในช่วงฤดูฝน


โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน และไม่มียารักษาโดยตรง แพทย์จะรักษาตามอาการ เด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้ จะเริ่มมีอาการจากมีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย ต่อมา 1-2 วันจะมีอาการเจ็บในปาก  กลืนน้ำลายไม่ได้  กินอาหารไม่ได้เนื่องจากมีตุ่มขึ้นในปาก โรคนี้ติดต่อง่าย โดยเฉพาะช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย โดยเชื้อไวรัสติดมากับมือหรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก น้ำจากตุ่มพองและแผล หรืออุจจาระของผู้ป่วย อาการจะทุเลาและหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน ปกติโรคนี้มักไม่รุนแรง  บางรายอาจมีอาการรุนแรงได้  จึงควรดูเด็กอย่างใกล้ชิด หากพบมีไข้สูง ซึม ไม่กินอาหาร อาเจียน หอบ แขนขาอ่อนแรง ต้องรีบพาไปโรงพยาบาลทันที เนื่องจากอาจเกิดโรคแทรกซ้อน เช่นสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ น้ำท่วมปอด ถึงขั้นเสียชีวิตได้

  1. ควรดูแลรักษาความสะอาดทั่วไป  และสุขอนามัยส่วนบุคคลโดยล้างมือ ฟอกสบู่ให้สะอาดก่อนเตรียมอาหาร
    และหลังขับถ่ายทุกครั้ง
  2. รับประทานอาหารที่สะอาด  ปรุงใหม่ๆ  ไม่มีแมลงวันตอม
  3. ควรใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร  ไม่ใช้แก้วน้ำหลอดดูด  ช้อน  ขวดนม  ร่วมกับผู้อื่น
  4. หลีกเลี่ยงการคลุกคลี  อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย  แยกเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ  และให้หยุดเรียนจนกว่าจะหายป่วย
  5. หลีกเลี่ยงการนำทารกและเด็กเล็กเข้าไปในสถานที่แออัด หรือที่ๆเด็กอยู่ร่วมกันจำนวนมาก หรือเล่นของเล่นร่วมกันในที่สาธารณะในช่วงที่มีโรคระบาดมาก
  6. ผู้ดูแลเด็กต้องตัดเล็บให้สั้น  หมั่นล้างมือบ่อยๆและรีบล้างมือให้สะอาดโดยเร็ว  เมื่อเช็ดน้ำมูกน้ำลาย  หรือเปลี่ยนผ้าอ้อม  เสื้อผ้าที่เปื้อนอุจจาระ
  7. ทำความสะอาดพื้น  เครื่องใช้  หรือของเล่นเด็กที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรค  อย่างสม่ำเสมอด้วยน้ำยาฟอกขาว  (คลอร็อกซ์)  อัตราส่วน  คือน้ำยา 20 ซีซี. ต่อ น้ำ 1,000 ซีซี. และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง
  8. ถ้าพบผู้ป่วยเป็นโรคมือ  เท้า  ปาก  ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่โดยเร็วเพื่อดำเนินการควบคุมโรคต่อไป

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประกาศ
ทางกระทรวงสาธารณสุขได้มีโครงการ "ไข่ใหม่แลกยาเก่า" เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ยาของประชาชน และไม่ให้มีการนำยาเก่าที่หมดคุณภาพ หรือหมดอายุ กลับมาบริโภคซ้ำ จึงได้มีการจัดโครงการดีๆ เพื่อให้ประชาชนนำยาเก่าของตนเองมาให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเขตของตนได้ดู และมีสิ่งตอบแทนเป็นไข่ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ประชาชนนำยาเก่ามาแลก

วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

รพ.สต.บ้านโพธิฐาน

รพ.สต.บ้านโพธิฐาน : ตั้งอยู่ที่ 470 หมู่ 10 ตำบลทุ่งควายกิน  อำเภอแกลง  จังหวัดระยอง
เบอร์โทรศัพท์ 038-669432
e-mail : potithan01960@hotmail.com

ตารางเวลาปฏิบัติงาน